19 กรกฎาคม 2551

Quiz#2

492-04-1057 นางเกวรินทร์ ทิศาเลิศไพศาล
492-04-1058 นางฐิติพรรณ วณิชประสิทธิ์
492-04-1059 นางพัชรินทร์ หินอ่อน
492-04-1063 นางภันทนี อึ้งอร่าม
492-04-1064 นายโกมล อึ้งอร่าม
492-04-1065 นายเทพฤทธิ์ อึ้งอร่าม
501-04-5041 นางภัทรจิรา พาร์สันส์

จุดเด่น-จุดด้อยของแต่ละโครงสร้าง
รูปแบบที่ 1 Direct to ERP
จุดเด่น
1. User สามารถเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้ด้วยตนเองโดยตรง
2. ประหยัดทรัพยากร เพราะระบบมีขนาดเล็ก
3. ทุกฝ่ายในบริษัทรับรู้ข้อมูลในแต่ละระดับที่สามารถรับรู้ได้ ทำให้มีความเข้าใจและรับรู้ในข้อมูลที่ตรงกัน
จุดด้อย
1. มีปัญหาด้านความปลอดภัย เนื่องจาก User สามารถเข้าไปยังฐานข้อมูลได้โดยตรงจึงอาจมีปัญหาข้อมูลรั่วไหลได้ ถ้าไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ

รูปแบบที่ 2 Indirect to ERP (Read only)
จุดเด่น
1. มีการใส่ Username และ Password ทำให้มีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง
2. สามารถทราบได้ว่าใครเป็นคนเข้ามาดูข้อมูล โดยดูผ่าน Username
3. มีการจัดทำเป็นระบบมากขึ้น แยกฝ่ายออกจากกันได้
จุดด้อย
1. มีการใช้งานแบบอ่านได้อย่างเดียวจึงมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บ้าง
2. การแก้ไขต้องผ่าน Admin เท่านั้น ทำให้เกิดปัญหาความล่าช้า

รูปแบบที่3 Indirect to ERP of other Application
จุดเด่น
1. สามารถแก้ไขข้อมูลและตรวจสอบโดย Userได้ จึง ช่วยลดความผิดพลาดของข้อมูลได้ทางหนึ่ง
2. มีการเสนอความคิดเห็นตอบสนอง ทำให้สามารถเก็บ Feedback ได้
3. ข้อมูลมีการUpdateแบบ Real time แทนที่จะต้องรอ Admin มาแก้ไข
จุดด้อย
1. ข้อมูลที่ได้จาก User นั้นอาจไม่ถูกต้อง จึงต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลก่อน
2. ปัญหาเรื่องความปลอดภัของระบบ เนื่องจากเป็นระบบเปิดจึงต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

ทางบริษัทนั้น เป็นบริษัทไม่ใหญ่มาก มีพนักงานจำนวน 150 คน จึงเลือกใช้แบบแผนที่ 2 เพราะ
1. เมื่อเทียบกับแบบแผนที่ 1 และ 3 จะปลอดภัยกว่า ทำให้ไม่ต้องลงทุนทางด้านความปลอดภัยมากเท่ากับอีก 2 แบบ
2. จำนวนพนักงานมีไม่มากเหมาะสมกับระบบที่ 2
3. เมื่อมีการติดต่อจาก User เข้ามาจะทำเป็น report หรือข้อเสนอแนะเป็นรูปแบบรายงาน ทาง Admin ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจะรับไปพิจารณาและส่งเป็นขั้นลำดับต่อไป ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับแบบแผนที่ 2 อยู่แล้ว

Quiz#2

492-04-1025 น.ส.ยุวดี ศรีอัจฉริยะ
492-04-1070 น.ส.ฐาปนี ดีดอน
492-04-1071 นาง ศิริพันธ์ พูลเจริญ
492-04-1072 นาง พรทิพย์ สิริเชาวน์เลิศ
492-04-1076 นาง เสาวณี อนุกูล

ระบบบริหารข้อมูลด้วยตัวพนักงานเอง Employee Self Services (ESS)
ระบบบริหารข้อมูลด้วยตัวพนักงานเอง (ESS) คือระบบที่อนุญาตให้พนักงานสามารถเรียกดูหรือปรับปรุงข้อมูลส่วนตัวให้ทันสมัยอยู่ได้ด้วยตนเอง เช่น
- การดูระเบียบและข้อบังคับในการปฏิบัติงาน
- ข้อมูลสถิติการลางานของตนเอง
- ข้อมูลด้านการจ้างงานและเงินเดือน ข่าวสารใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
- ปฏิทินกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร ตารางวันหยุด-วันทำงานขององค์กร
- ขั้นตอนการปฏิบัติในองค์กร เช่น การลาประเภทต่างๆ ระเบียบเกี่ยวกับการใช้สวัสดิการ
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การติดต่อกับหน่วยงานราชการ
- ด้านภาษีเงินได้ สิทธิเกี่ยวกับประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน เป็นต้น
โดยผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ Web Browser หรือ Intranet ที่องค์กรจัดไว้ภายในสถานที่ทำงาน (Kiosk) ดังนั้นระบบ ESS ทำให้แผนกบุคคลไม่ต้องเสียเวลายุ่งยากในการจัดเก็บและดูแลข้อมูลทั้งหมดของพนักงานและเพื่อให้ผู้บริหารสามารถอนุมัติคำร้องต่าง ๆ ได้อย่างทันเหตุการณ์ ระบบงานนี้ยังสามารถแสดงข้อความเตือนล่วงหน้าสำหรับประเภทงานที่รอการอนุมัติ ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูลจะกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันความปลอดภัยของฐานข้อมูล
ข้อดี
- อำนวยความสะดวกให้กับพนักงานด้วยระบบบริการข้อมูลออนไลน์ เช่น แก้ไขที่อยู่ ขออนุมัติวันลา ขอเข้าฝึกอบรม และอื่นๆ
- จัดเก็บหรือปรับปรุงข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัดทรัพยากร (กระดาษ) และข้อมูลที่ได้มีความสมบูรณ์ ถูกต้อง และล่าสุด
- มีเวลาเพิ่มขึ้นในการวางแผนพัฒนาองค์กรในด้านอื่นๆ
- หัวหน้าสายงานสามารถอนุมัติหรือไม่อนุมัติเรื่องต่าง ๆ ได้
ข้อเสีย
- พนักงานมีภาระความรับผิดชอบงานธุรการด้านบุคลากรของตนเองอาจทำให้ประสิทธิผลของพนักงานน้อยลง
- ต้นทุนด้านเวลาของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจะสูงกว่าเจ้าหน้าที่ทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการใช้เวลาอย่างไม่คุ้มค่า
- ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์อาจต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมให้พนักงานมีทักษะในการใช้อินทราเน็ตอย่างมาก

ข้อดี-ข้อด้อยของ ESS แต่ละโครงสร้าง คือ
แบบที่ 1 Direct to ERP คือการเข้าถึงข้อมูลที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ โดยพนักงานจะมี License ประจำตัวแต่ละคน
ข้อดี
- พนักงานสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลของตนเองได้
- ลดขั้นตอนการดำเนินงาน
- ลดงานด้านการจัดเก็บเอกสาร
ข้อด้อย
- ด้านความปลอดภัยหากพนักงานเก็บรักษา Password ของตนเองไม่ดีอาจมีผู้อื่นนำไปกลั่นแกล้งได้
- มีข้อจำกัดด้าน License ที่เข้าสู่ ERP เนื่องจากเป็นแบบ Direct ถ้ามีจำนวน user มาก ก็ต้องเสียค่า License มากด้วย เพราะค่า License มีราคาแพง
- ต้องมีการจัดสรรการใช้ที่ดีเมื่อมีผู้เข้ามาใช้พร้อม ๆ กันหลายคน

แบบที่ 2 Indirect to ERP of Other Application Read only
ข้อดี
- ประหยัดค่า License เนื่องจากมีการสร้าง data base ขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง ซึ่ง data base ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้จะเก็บข้อมูลบางส่วนไว้ทำให้เราดูข้อมูลได้จากตรงนี้ ซึ่ง data base ตัวนี้จะเชื่อมต่อไปยัง ERP โดยใช้เพียงแค่ 1 License เท่านั้น
- มีความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลเพราะว่าพนักงานไม่สามารถแก้ไขข้อมูลของตนเองได้ ซึ่งพนักงานอาจใส่ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง- เมื่อทำการ maintenance ที่ ERP นั้น data base อีกตัวที่เราสร้างขึ้นมาก็ยังใช้งานได้อยู่ หรือถ้าหากเรา maintenance ที่ตัว data base ที่สร้างขึ้น ERP ก็ยังสามารถใช้ได้อยู่ไม่เกี่ยวข้องกัน ทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน
ข้อด้อย
- อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ทำให้ข้อมูลบางส่วนไม่มีการอัพเดท
- มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการสร้าง data base

แบบที่ 3 Indirect to ERP or Other Application
ข้อดี
- ลดภาระด้านการจัดเก็บเอกสาร
- ประหยัดค่า License เนื่องจากมีการสร้าง data base ขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง ซึ่ง data base ที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้จะเก็บข้อมูลบางส่วนไว้ทำให้เราดูข้อมูลได้จากตรงนี้ ซึ่ง data base ตัวนี้จะเชื่อมต่อไปยัง ERP โดยใช้เพียงแค่ 1 License เท่านั้น
- สามารถดูและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ทำให้ข้อมูลมีการอัพเดทตลอดเวลา
- ประหยัดเวลาในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล
ข้อด้อย
- ด้านความปลอดภัยอาจมีผู้กลั่นแกล้งเข้าไปแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นได้
- พนักงานบางคนอาจแก้ไขข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง
- มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการสร้าง data base
- ด้านความปลอดภัยของข้อมูล ต้องเก็บรักษา Password เป็นความลับ ถ้ามีบุคคลอื่นแอบรู้ Password จะทำให้สามารถเข้าไปกลั่นแกล้งแก้ไขข้อมูลได้
- ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับผู้บริหารลดลง

บริษัทที่ทำงานอยู่ เป็นธนาคารซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศกว่า 500 สาขา พนักงานประมาณ 9 พันคน ถ้าเลือก IMPLEMENT จะเลือก TYPE 2 เพราะว่า
- พนักงานสามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารได้พร้อมกัน โดยช่วยลดข้อผิดพลาดด้านการสื่อสาร
- มีพนักงานเป็นจำนวนมากจึงต้องใช้ TYPE 2 เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล
- ป้องกันการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงของพนักงาน
- สามารถตรวจสอบเอกสารก่อนมีการแก้ไขข้อมูลเพื่อความถูกต้องและเป็นจริง
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเสียค่า License- ลดงานด้านการตรวจสอบข้อมูล

13 กรกฎาคม 2551

Quiz#1

Quiz#1

QUIZ # 1 ฐานข้อมูลเบื้องต้น

492-04-1025 น.ส. ยุวดี ศรีอัจฉริยะ
492-04-1070 น.ส. ฐาปนี ดีดอน
492-04-1071 นาง ศิริพันธ์ พูลเจริญ
492-04-1072 นาง พรทิพย์ สิริเชาวน์เลิศ
492-04-1076 นาง เสาวณี อนุกูล
503-04-5028 นาย กฤษกร อ่วมโพธิ์